เมนู

อื่นเห็นปานนี้ ที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว และสำเร็จประโยชน์แก่ของ
ควรบริโภคของพวกมนุษย์ด้วยอำนาจอาหารตามปกติในชนบทนั้น ๆ จัดเป็น
ยาวกาลิกโดยส่วนเดียว.
แต่ชาเกลือมีใบขนาดเท่าหลังเล็บเขื่อง ๆ แม้อื่นใด เลื้อยขึ้นบนต้นไม้
หรือพุ่มไม้, พวกอาจารย์ชาวเกาะ (ชาวชมพูทวีป หรือชาวลังกาทวีป) กล่าว
ใบชาเกลือนั้นว่า เป็นยาวชีวก และใบพรห1มีว่าเป็นยาวชีวิก. ใบมะม่วงอ่อน
เป็นยาวกาลิก. ส่วนใบอโศกอ่อนเป็นยาวชีวิก.
ก็หรือใบอื่นใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! เราอนุญาตปัณณเภสัช (ใบไม้ที่เป็นยา) คือ ใบสะเดา ใบมูกมัน
ใบกระดอม หรือกะเพรา หรือ แมงรักใบฝ้าย, ก็หรือปัณณเภสัช แม้ชนิด
อื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว ที่ไม่
สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค ในของควรบริโภค2 ดังนี้, ใบเหล่านั้น
เป็นยาวชีวิก และไม่ใช่แต่ใบอย่างเดียว แม้ดอกและผลของสะเดาเป็นต้นเหล่า
นั้นก็เป็นยาวชีวิก (เหมือนกัน) จำพวกใบที่เป็นยาวชีวิกจะไม่มีที่สุดด้วย
อำนาจการนับ อย่างนี้ว่า ใบกระดอม หรือมูลกา ใบสะเดา หรือบอระเพ็ด
ใบแมงรัก หรืออ้อยช้าง ใบตะไคร้ หรือผักคราด ใบพลู ใบบัว เป็นต้น.

[ว่าด้วยดอก ผล เมล็ด แป้ง และยางที่ควรเคี้ยว]


ในปุปผขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ดอกที่สำเร็จประโยชน์แก่ของ
ควรเคี้ยวและที่สำเร็จประโยชน์แก่ของที่ควรบริโภคของหมู่มนุษย์ ด้วยอำนาจ
แห่งอาหารตามปรกติในชนบทนั้น ๆ มีอาทิอย่างนี้ คือ ดอกเผือกมัน ดอก
ลูกเดือย ดอกมันอ้อน ดอกมันแดง ดอกมะพลับ (ดอกมันใหญ่) ดอกผัก
1. วชิรพุทฺธิ. แก้เป็น เทเมเตเยปณสา. 2. วิ. มหา. 5/42